บันทึกการเรียน ARTD2304 ในวันที่ 26/01/59
ligature คือ การผสมอักษร
Capital Letter คือ ตัวพิมพ์ใหญ่
อธิบายส่วนประกอบต่างๆ ของ Keyboard ในแต่ละคีย์ และ การพิมตัวอักษรในรูปแบบ ligature
Ligature คืออะไร ผมอ่านออกเสียงว่า ลิกะเจอร์ มีบางท่านอ่านออกเสียงแบบติดตลกพูดย่อๆว่า ลิเก จะคืออะไร ก็คือวิธีการแก้ปัญหาเรื่องการจัดเรียงพิมพ์ตัวอักษร (Type Arranging) ที่มีปัญหาเรื่องที่ว่างสีขาว (White Space) มากเกินไปหรือห่างมากไปอันเนื่องจากมีรูปขาดหาย(ในสายตาเรา)ไม่เต็มกรอบโครงสร้างสี่เหลี่ยม เช่นในภาษาลาตินตัวพิมพ์ใหญ่ ก็คือตัว A ตัว T เป็นต้น หรือปัญหาเรื่องการลำดับตำแหน่งรูปสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์ ในภาษาที่แตกต่างกัน อาทิเช่น เมื่อเรียงพิมพ์แล้วเกิดมีบางส่วนของรูปอักขระซ้อนทับหรือบังกัน เช่นในภาษาลาตินก็อย่างเช่นตัวพิมพ์เล็ก fi ,fl ทำให้อ่าน-ดูขัดตาไม่สวยด้วยปัญหาเรื่องระยะห่างของแบบตัวพิมพ์หรืออาจเนื่องจากการปรับจัดระยะชิดกั้นหน้าหนัง (Side Bearing) หรือที่เรียกว่าการจัดระยะเคิร์นนิ่ง (Kerning) เองหรืออัตโนมัติไม่ครบทุกรูปอักขระ-สระ ที่มีมากมาย เช่นในภาษาไทย มีรูปสระ-วรรณยุกต์ซ้อนทับตำแหน่งพิมพ์เดิม ซ้อนอยู่เป็นระดับบน-ล่างพยัญชนะ และยังมีหางยาวพ้นระดับความสูงของบรรทัดปกติอีกด้วย เช่น ป ฟ ฝ เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวมานี้จึงต้องมีการแก้ปัญหาเพื่อให้การเรียงพิมพ์ตัวเนื้อความออกมาได้ดีสวยงามไม่น่ารำคาญสายตาเวลาอ่าน นั่นก็คือต้องมี การแก้ปัญหาให้เช่นการเขียนคำสั่ง(Tag)กำกับอักขระเพิ่มเป็นพิเศษ และมีการเขียนรูปอักขระเพิ่มด้วยการรวมร่างแบบตัวอักขระ สองหรือสามตัวให้เป็นรูปตัวเดียว เหมือนกับการเขียนและเรียกใช้งานรูปสัญลักษณ์อักขระพิเศาที่นอกเหนือจากที่มีในตารางมาตรฐานของแป้นพิมพ์ ซึ่งปัญหานี้ก็ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ที่เอื้อต่อการจัดการแก้ไข ใส่ตำสั่งแท๊กสคริ๊ป หรือด้วยการการเขียนโปรแกรมคำสั่งให้ดำเนินการเรียกใช้ให้โดยอัตโนมัติ หรือเรียกใช้รูปอักขระที่มีรูปลักษณ์พิเศษที่ถูกเขียนควบรวมรูปร่างแทนขึ้นใหม่(Ligatures)เช่นใช้ภาพอักขระ ฟั ตัวเดียวที่มีเพิ่มใช้จากในตาราง glyph (ปกติต้องพิมพ์ลำดับอักขระคือ ฟอฟันและไม้หันอากาศ) ให้เข้าใช้แทนที่ตำแหน่งพิมพ์ เมื่อเงื่อนไขที่พิมพ์รูปอักขระป้อนเข้าตรงกับคำสั่งที่เขียนขึ้นไว้ในโปรแกรมฟ้อนต์นั่นเอง ซึ่งความสามารถนี้ในโปรแกรมฟ้อนต์แล็บ มีให้พร้อมรองรับการแก้ปัญหาเอาไว้แล้ว เป็นคุณสมบัติพิเศษที่โดดเด่นที่ศึกษาได้ง่าย ทั้งในเวอร์ชั่นสำหรับติดตั้งใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ MacIntosh และระบบปฏิบัติการ Windows
Ligature คืออะไร ผมอ่านออกเสียงว่า ลิกะเจอร์ มีบางท่านอ่านออกเสียงแบบติดตลกพูดย่อๆว่า ลิเก จะคืออะไร ก็คือวิธีการแก้ปัญหาเรื่องการจัดเรียงพิมพ์ตัวอักษร (Type Arranging) ที่มีปัญหาเรื่องที่ว่างสีขาว (White Space) มากเกินไปหรือห่างมากไปอันเนื่องจากมีรูปขาดหาย(ในสายตาเรา)ไม่เต็มกรอบโครงสร้างสี่เหลี่ยม เช่นในภาษาลาตินตัวพิมพ์ใหญ่ ก็คือตัว A ตัว T เป็นต้น หรือปัญหาเรื่องการลำดับตำแหน่งรูปสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์ ในภาษาที่แตกต่างกัน อาทิเช่น เมื่อเรียงพิมพ์แล้วเกิดมีบางส่วนของรูปอักขระซ้อนทับหรือบังกัน เช่นในภาษาลาตินก็อย่างเช่นตัวพิมพ์เล็ก fi ,fl ทำให้อ่าน-ดูขัดตาไม่สวยด้วยปัญหาเรื่องระยะห่างของแบบตัวพิมพ์หรืออาจเนื่องจากการปรับจัดระยะชิดกั้นหน้าหนัง (Side Bearing) หรือที่เรียกว่าการจัดระยะเคิร์นนิ่ง (Kerning) เองหรืออัตโนมัติไม่ครบทุกรูปอักขระ-สระ ที่มีมากมาย เช่นในภาษาไทย มีรูปสระ-วรรณยุกต์ซ้อนทับตำแหน่งพิมพ์เดิม ซ้อนอยู่เป็นระดับบน-ล่างพยัญชนะ และยังมีหางยาวพ้นระดับความสูงของบรรทัดปกติอีกด้วย เช่น ป ฟ ฝ เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวมานี้จึงต้องมีการแก้ปัญหาเพื่อให้การเรียงพิมพ์ตัวเนื้อความออกมาได้ดีสวยงามไม่น่ารำคาญสายตาเวลาอ่าน นั่นก็คือต้องมี การแก้ปัญหาให้เช่นการเขียนคำสั่ง(Tag)กำกับอักขระเพิ่มเป็นพิเศษ และมีการเขียนรูปอักขระเพิ่มด้วยการรวมร่างแบบตัวอักขระ สองหรือสามตัวให้เป็นรูปตัวเดียว เหมือนกับการเขียนและเรียกใช้งานรูปสัญลักษณ์อักขระพิเศาที่นอกเหนือจากที่มีในตารางมาตรฐานของแป้นพิมพ์ ซึ่งปัญหานี้ก็ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ที่เอื้อต่อการจัดการแก้ไข ใส่ตำสั่งแท๊กสคริ๊ป หรือด้วยการการเขียนโปรแกรมคำสั่งให้ดำเนินการเรียกใช้ให้โดยอัตโนมัติ หรือเรียกใช้รูปอักขระที่มีรูปลักษณ์พิเศษที่ถูกเขียนควบรวมรูปร่างแทนขึ้นใหม่(Ligatures)เช่นใช้ภาพอักขระ ฟั ตัวเดียวที่มีเพิ่มใช้จากในตาราง glyph (ปกติต้องพิมพ์ลำดับอักขระคือ ฟอฟันและไม้หันอากาศ) ให้เข้าใช้แทนที่ตำแหน่งพิมพ์ เมื่อเงื่อนไขที่พิมพ์รูปอักขระป้อนเข้าตรงกับคำสั่งที่เขียนขึ้นไว้ในโปรแกรมฟ้อนต์นั่นเอง ซึ่งความสามารถนี้ในโปรแกรมฟ้อนต์แล็บ มีให้พร้อมรองรับการแก้ปัญหาเอาไว้แล้ว เป็นคุณสมบัติพิเศษที่โดดเด่นที่ศึกษาได้ง่าย ทั้งในเวอร์ชั่นสำหรับติดตั้งใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ MacIntosh และระบบปฏิบัติการ Windows
บันทึกการเรียน ARTD2304 ในวันที่ 19/01/59
เริ่มคาบเรียนอาจารย์ได้เน้นย้ำจุดประสงค์ของวิชาของการเรียนอีกครั้ง
และยังสอนเกี่ยวกับการ upload file ลง drive , การจัดการไฟล์ต่างๆ ,
การจัดหน้าเอกสารลงใน drive
ในส่วนของบล็อคนั้น อาจารย์ให้เพิ่ม ผู้เขียนของ e-mail chandra
เข้าไปเพื่อที่จะได้สะดวกต่อการเขียนบล็อค
ในวันนี้เป็นวันที่ฉันได้ พรีเซ้นรายงานออนไลน์แปลสรุปข่าวสารทางการออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ โดยมีการแปลจาก Eng เป็น Thai เพื่อสรุปความว่า font ที่เรานำมานั้นมีที่มาและลักษณะเด่นอย่างไร เป็นการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เพื่อนๆ เมื่อตรงไหนบกพร่องผิดพลาด อาจารย์ก็จะช่วยเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
และยังสอนเกี่ยวกับการ upload file ลง drive , การจัดการไฟล์ต่างๆ ,
การจัดหน้าเอกสารลงใน drive
ในส่วนของบล็อคนั้น อาจารย์ให้เพิ่ม ผู้เขียนของ e-mail chandra
เข้าไปเพื่อที่จะได้สะดวกต่อการเขียนบล็อค
ในวันนี้เป็นวันที่ฉันได้ พรีเซ้นรายงานออนไลน์แปลสรุปข่าวสารทางการออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ โดยมีการแปลจาก Eng เป็น Thai เพื่อสรุปความว่า font ที่เรานำมานั้นมีที่มาและลักษณะเด่นอย่างไร เป็นการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เพื่อนๆ เมื่อตรงไหนบกพร่องผิดพลาด อาจารย์ก็จะช่วยเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
งานในครั้งถัดไปให้นักศึกษานำแบบฟอร์มเขียนรูปแบบตารางรูปอักษรไปแปลงไฟล์ภาพตัวอักษรให้เป็นไฟล์ vector ที่กำหนดให้ในแบบ scan เป็นขาวดำที่มีความละเอียด 300 dpi พร้อมกับถ่ายแต่ละขั้นตอนในการทำลง blog
บันทึกการเรียน ARTD2304 ในวันที่ 12/01/59
อาจารย์ได้ชี้แจ้งในเรื่อง google drivehttps://drive.google.com/drive/my-drive
เป็นช่องทาง online ที่สามารถเอาไว้ บันทึกงานและ share งานให้คนอื่นได้
google drive หลักสำคัญเลยคือ
อาจารย์จะได้ตรวจเช็คงานของนักศึกษาแต่ละคนได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้รหัสของ chandra เป็น E-mail ที่ทำการขอทางมหาลัยไว้ เพื่อใช้เป็น account สำหรับ การส่งงานเข้า classroom ของกลุ่มเรียน
และอาจารย์ยังแนะนำเรื่องการ update blog ทั้งการตกแต่ง,ข้อมูลเนื้อหาต่างๆ ยังไงให้ดูมีความน่าสนใจ
มีการสอบวัดความรู้ก่อนเรียน (Theoretical PreTest) ในระบบอีเลิร์นนิ่ง
http://www.thaiteachers.info/claroline
เป็นข้อสอบ ปรนัย และ เป็นจับคู่ในแต่ละข้อ พอทำเสร็จนั้น ก็จะรู้คะแนนผลสอบทันที
พอหมดเวลา อาจารย์ก็ให้สอบ Pre - test ภาคปฏิบัติ ต่อ
โดยให้ทุกคนออกแบบตัวอักษรในลักษณะของ Typo graph
1. ภาษาไทย คำว่า "เรารักจันทรเกษม"
2. Eng "รักจันทรเกษม" (ให้คิดคำด้วยตนเอง)
ชื่องาน : เป็นชื่อเรา-pretest1 ส่งใน google drive ให้เวลา ถึง 17.30
ผลงานที่ได้คือ
งานในครั้งถัดไป
1.หารูปแบบรายงาน online แปลสรุปข่าวสารทางการออกแบบ
ให้หามา 3 หัวข้อ ( ภาษา eng ) *ห้ามซ้ำกัน* พร้อมนำเสนอหน้าชั้น สัปดาห์ละ 3 คน
2. ให้ นศ. เขียน ฟอนต์ เป็นลายมือของตนเอง ก - ฮ , สัญลักษณ์ , A - Z , สัญลักษณ์
โดยแบ่งเป็น 3 ชุด ชุดละ 1 ช่วงวัย
ชุดที่ 1 เด็กโต 6 - 11 ปี
ชุดที่ 2 วัยรุ่น 12 - 20 ปี
ชุดที่ 3 วัยผู้ใหญ่ 20 - 60 ปี
เราเขียน 1 ชุด อีก 2 ชุดไปหาคนอื่นๆมาเขียน
*เมื่อทำเสร็จแล้ว ให้นำงานทั้ง 3 ชุด ไป scan ด้วยความละเอียด 300.dpi แล้ว share ลง drive*
3.หาความหมายของคำว่า
- font
- type
- tyface
- character
- alphabet
3.หาความหมายของคำว่า
- font
- type
- tyface
- character
- alphabet
4.จงแปล อ้างอิง และสรุปประเด็น แล้วเรียบเรียงเป็นความเรียงความหมายเป็นของตนเองของคำว่าการออกแบบตัวพิมพ์ (Type Design) โดยแปล และอ้างอิงจากเอกสาร หนังสือ ตำราภาษาอังกฤษ 2 เล่ม ภาษาไทย 3 เล่ม เป็นเอกสารที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่เท่านั้น รวมไม่น้อยกว่า 5 เล่มหรือมากกว่า ห้ามทำสำเนาจากอินเตอร์เน็ต โดยมีการอ้างอิงแหล่งที่มาให้ถูกต้องตามรูปแบบการเขียนอ้างอิงและเขียนบรรณานุกรมเอกสารวิชาการที่ถูกต้อง จำนวนไม่น้อยกว่า 2 หน้า บรรทัดพิมพ์เดี่ยว ( 30 บรรทัด/หน้า A4)
การส่งงาน
- จัดพิมพ์ลงในไฟล์เอกสาร googleDoc แล้วแชร์ส่งในโฟลเดอร์ที่อาจารย์แบ่งปันให้
- ส่งโพสลงบล็อกบันทึกผลการเรียนรู้ของตนเองพร้อมจัดหาภาพประกอบให้สอดคล้องกับสาระที่อ้างอิง
- จัดพิมพ์เป็นเอกสารรายงานพร้อมปกที่มีการออกแบบภาพประกอบเกี่ยวกับเนื้อและความหมาย พิมพ์ไฟล์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด พิมพ์สี-เข้าเล่มปกให้เรียบร้อย แบบตัวพิมพ์เนื้อหาให้ใช้แบบตัวพิมพชื่อ CRU LanChand56 ขนาดตัวเนื้อหา 16 พ้อยท์ หัวเรื่อง 20 พ้อยท์ จัดหน้าพิมพ์ตามรูปแบบเอกสารวิชาการให้ถูกต้อง
ศึกษารูแปบบและตัวอย่างการพิมพ์และการอ้างอิงเอกสารวิชาการได้ที่ https://sites.google.com/site/artthesis/Home/document
บันทึกการเรียน ARTD2304 ในวันที่ 05/01/59
ในคาบแรกจะเป็นการปฐมนิเทศและชี้แจ้งกิจกรรมต่างๆทั้งหมดของนักศึกษา
เพื่อที่จะได้ทราบก่อนเรียนในเทอมนี้
มีการอธิบายความหมายของ Font ย่อยๆ ว่ามีกี่ประเภท แต่ละตัวมีชื่อเรียกว่าอะไรบ้าง
สิ่งที่นักศึกษาต้องดำเนินการคือ
• กรอกข้อมูล ลงชื่อเข้าชั้นเรียนครั้งแรกในแบบบันทึกและประเมินผลการเรียนรู้ประจำวิชา
• ลงทะเบียนในระบบอีเลิร์นนิ่ง สมัครเป็นสมาชิกระบบแล้วสมัครเข้าเรียนในวิชา เตรียมพร้อมเข้าสอบออนไลน์หรือส่งการบ้าน
• ตอบแบบสำรวจศักยภาพและความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น