ผ้าพันคอลายจิ้งจอก Magic Art CRU
ส.1(กรณีศึกษาเรียนรู้)
ข้อดี–ข้อเสียของการ สกรีน แบบต่างๆ
การสกรีน แบบบล็อคสกรีน เป็นระบบในการพิมพโดยต้องใช้บล็อคสกรีน 1 สี ต่อ 1 บล็อค 4 สี ก็ต้องใช้ 4 บล็อค ซึ่งเหมาะกับการพิมพ์เสื้อ สกรีนเสื้อจำนวนมาก
ข้อดี คือ
- ถ้างานมีปริมาณมาก ราคาพิมพ์สกรีนเสื้อต่อตัวจะค่อนข้างถูก
- สามารถพิมพ์ได้บนผ้าทุกชนิด รวมถึงวัสดุต่างๆ เช่น พิมพ์กสรีนลงบนไม้ MDF ไม้สัก เหล็ก PVC พลาสติคแทบทุกประเภท และอื่นๆ
- เหมาะกับงาน 1-2 สี และ งานจำนวนมากๆ
ข้อเสีย คือ
- หากจำนวนเสื้อที่ต้องการน้อย จะไม่คุ้มกับค่าบล็อคที่เสียไป
- จำนวนบล็อค เพิ่มขึ้นตามจำนวนสี และค่าแรงในการสกรีน ก็เพิ่มขึ้นตามจำนวนสีด้วย
การสกรีนเสื้อแบบ Transfer
การสกรีนเสื้อแบบTransfer เป็นการสกรีน หรือ พิมพ์ลวดลายโดยการใช้เครื่องปริ้นเตอร์ พิมพ์ลงบนกระดาษทรานเฟอร์ และใช้เครื่องกดความร้อน กดลงบนเนื้อผ้าอีกครั้งนึง ทำให้หมึกที่อยู่บนกระดาษ จะถูกความร้อนกดลงบนเนื้อผ้า โดยเนื้องานที่ออกมา จะได้คุณภาพใกล้เคียงกับงานพิมพ์เลย
ข้อดี คือ
- สามารถพิมพ์งานกี่สีก็ได้ เพราะเป็นงานจากเครื่องพิมพ์โดยตรง
- เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณน้อยๆ และ เร่งด่วน
- ราคาคิดตาม ขนาดของงาน และ จำนวนการพิมพ์ โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนสี
ข้อเสีย คือ
- การพิมพ์แบบ Transfer ราคาค่อนข้างสูง แม้จะพิมพ์จำนวนมากก็ตาม
- การพิมพ์แบบ Transfer จะได้งานที่คงทน และ คุณภาพดี ต้องใช้เสื้อแบบ TC และ TK เท่านั้น ไม่เหมาะกับ ผ้าฝ้ายCotton100%
- สีอาจจะดรอปลงไป หรือ สีเพี้ยนไปจากต้นฉบับบ้างเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับคุณภาพไฟล์งาน
- สำหรับการพิมพ์แบบ Transfer ไม่สามารถพิมพ์สีขาวได้
การสกรีนเสื้อแบบ Direct
การสกรีนเสื้อแบบ Direct เป็นการสกรีน หรือ พิมพ์ลวดลายลงเนื้อผ้าโดยตรง โดยการใช้เครื่องปริ้นเตอร์ พิมพ์ลงบนเนื้อผ้า หรือ เสื้อ และใช้เครื่องกดความร้อน กดลงบนเนื้อผ้าอีกครั้งนึง เพื่อให้สีคงทนถาวรบนเนื้อผ้า โดยเนื้องานที่ออกมา จะได้คุณภาพใกล้เคียงกับงานพิมพ์เลย
ข้อดี คือ
- สามารถพิมพ์งานกี่สีก็ได้ เพราะเป็นงานจากเครื่องพิมพ์สู่เนื้อผ้าโดยตรง
- เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณน้อยๆ และ เร่งด่วน
- ราคาคิดตาม ขนาดของงาน และ จำนวนการพิมพ์ โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนสี
- สามารถพิมพ์ลงบนผ้าฝ้าย cotton100 ได้ โดยไม่หลุดลอก และสีไม่แตก
ข้อเสีย คือ
- การพิมพ์แบบ Direct ราคาค่อนข้างมีราคาสูง แม้จะพิมพ์จำนวนมากก็ตาม
- สีอาจจะดรอปลงไป หรือ สีเพี้ยนไปจากต้นฉบับบ้างเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับคุณภาพไฟล์งาน
- สำหรับการพิมพ์แบบ Direct ไม่สามารถพิมพ์เนื้อสี สีขาวได้
การทำบล็อกสกรีน
การทำบล็อกสกรีน
หลายๆคนอาจจะสงสัยว่า ในการสกรีนเสื้อยืดนั้น การสกรีนลายสวยๆได้นั้น เขาเริ่มต้นทำกันอย่างไร สิ่งแรกที่ต้องเรียนรู้คือ การทำบล๊อกสกรีน นั่นเองครับ กระบวนการทำบล็อกสำหรับสกรีนเสื้อนั้น เขามีวิธีในการทำกันอย่างไร วันนี้เราจะมาสาธิตวิธีในการทำบล็อกสกรีนอย่างง่ายให้ได้ดูกันครับ และเพื่อนๆสามารถนำไปทดลองทำกันได้อีกด้วย
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำบล็อกสกรีน
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำบล็อคสกรีน
- 1. กาวอัด สีชมพู หาไม่ได้ ก็สีม่วง หรือ สีฟ้า
- 2. น้ำยาไวแสง
- 3. บล็อคสกรีน
- 4. ยางปาด
- 5. ไดร์เป่าผม หาไม่ได้ ก็ไปยืมของแม่ที่ใช้เป่าผม มาใช้งานก่อน ใช้ได้ ใครมีแฟน ก็ไปเอาของแฟนมาใช้ก่อน ช่วง นี้ ข้าวของแพง ขึ้นทุกวัน อันไหนยืมได้ก็ยืมไปก่อน ถ้าลงทุนซื้อ ทุกอย่าง ก็จะไม่คุ้ม
- 6. ถ้วย เอาไว้ใส่ กาวอัด กับ น้ำ ยา ไวแสง
- 7. ช้อน ไว้คน น้ำยาไวแสง กับ กาวอัด ให้เข้ากัน
- 8. กระดาษเช็ค ชู่
- 9. ตู้ฉายแสง
- 10.กระบอกฉีดน้ำ
- 11. ผงคลอลีน เอาไว้ล้างบล็อคสกรีน ที่ต้องการทำใหม่
ขั้นตอนการทำบล็อกสกรีน
- การทำบล๊อกสกรีนนั้ควรทำทุกขั้นตอนในห้องที่ไม่มีแสง UV ควรใช้หลอดไฟสีเหลือง
- เริ่มต้นนั้น ให้เราผสมกาวอัดสกรีนกับน้ำยาไวแสงเข้าด้วยกัน โดยทั่วไปแล้ว อัตราส่วนที่สำคัญคือ กาวอัพสกรีน 5 ส่วน และน้ำยาไวแสง 1 ขวด เมื่อกะปริมาณได้แล้ว ให้เราผสมให้ทั้ง 2 อย่างเข้ากัน กาวอัดบล๊อคสกรีนนั้นเมื่อผสมแล้วจะมีอายุไม่นาน ควรใช้ให้หมดภายในวันเดียวกัน
- นำกาวอัดบล๊อคสกรีนที่ผสมเรียบร้อยแล้ว เทลงบนรางปาดกาวอัด
- ตั้งบล๊อคสกรีนไว้พิงกับกำแพง และนำกาวอัดที่อยู่บนราง เอียงปาดกดลงบนผ้าสกรีน และรูดขึ้นจากล่างขึ้นบน ทำแบบนี้ทั้ง 2 ด้าน ของผ้าสกรีน
- เราจะต้องทำให้บล็อกสกรีนที่เราทากาวไว้นั้น แห้งสนิท ตั้งไว้ให้แห้ง หรือ นำไดร์เป่าผมมาใช้ และเป่าให้จุดที่ทากาวนั้นแห้งสนิททั้ง 2 ด้าน และหลังจากนั้นก็นำไปเก็บไว้ในที่มืด เหตุผลที่ต้องนำไปเก็บในที่มืดเพราะ บล็อกสกรีนที่ฉาบกาวแล้ว จะมีปฏิกิริยาที่ไวต่อแสง
- นำแบบที่เขียนสกรีนไว้แล้วบนกระดาษไข หรือ ฟิลม์ Artwork มาฉาบลงบนบล็อกสกรีนด้วยการอัดกาว จากนั้นจึงนำไปฉายแสงตามระยะเวลาที่กำหนด และขั้นตอนสุดท้ายคือการนำบล็อกสกรีนที่ทำเสร็จนั้นไปล้างน้ำเปล่าให้สะอาด และฉีดน้ำเก็บรายละเอียด
สีที่เหมาะในการใช้ สกรีนเสื้อ
ข้อสำคัญของการสกรีนเสื้อยืดนั้น นอกเหนือจากการทำบล็อกสกรีนแล้ว สิ่งที่จะขาดไม่ได้ที่จะทำให้การทำเสื้อสมบูรณ์นั้นก็คือ การใช้สีในการสกรีนเสื้อยืดนั่นเอง แต่ว่าการเลือกใช้สีนั้น ก็จะมีความเหมาะสมที่แตกต่างกันไป วันนี้เราจะมาแนะนำสีที่ใช้ในการสกรีนเสื้อกันครับ
ประเภทของสีสกรีนเสื้อ
สีเชื้อน้ำ
สีประเภทแรกที่เราจะอธิบายถึงกระบวนการของมันนั่นก็คือสีประเภท “เชื้อน้ำ” สีสกรีนประเภทนี้มีคุณสมบัติเป็นตัวทำละลายเนื้อสี และแป้งพิมพ์ให้เป็นเนื้อเดียวกัน สำหรับแป้งพิมพ์สำหรับไว้เป็นส่วนผสมของสีสกรีนนั้น จะมีส่วนผสมที่สำคัญของสาร Binder ที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการยึดเกาะ มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มการยึดติดบนเส้นใยของเนื้อผ้าที่จะใช้สกรีน และสำหรับสีเชื้อน้ำนั้นยังแบ่งออกเป็นอีก 4 ประเภทใหญ่ๆคือ
สีสกรีนเสื้อแบบสีจม
เนื้อสีชนิดนี้จะมีความละเอียดสูง และสามารถซึมลงไปถึงเส้นใยผ้าได้อีกด้วย มีความโปร่งใส และเมื่อสกรีนเสร็จ หากลองจับดู จะพบว่าเนื้อนั้นเรียบเนียนจนเหมือนกับว่าสีนั้นรวมกันเป็นส่วนเดียวกันกับเส้นใยผ้าไปด้วย
สีสกรีนเสื้อแบบสีลอย
เนื้อสีประเภทนี้จะมีความละเอียดน้อยกว่าสีจม แต่เมื่อสกรีนแล้วจะพบว่าเนื้อสีนั้นจะมีความหนามากกว่าแบบสีจม สีประเภทนี้มีความทึบแสง เหมาะที่จะไปสกรีนลงบนเสื้อสีเข้มๆ
สีสกรีนเสื้อแบบสียาง
สีชนิดนี้มีสรรพคุณเหมือนกับยางยืดนั่นก็คือ มีความยืดหยุ่นสูง มีความเงา เมื่อลองดึงผ้าที่สกรีนนั้น จะเห็นว่าเนื้อสีที่สกรีนนั้นยืดออกด้วย และยังมีความสามารถในการเกาะบนเนื้อผ้าที่ดีเหมือนกับสีลอย
สีสกรีนเสื้อแบบสีนูน
สีชนิดนี้ เกิดจากการนำสีไปอบด้วยความร้อนสูง และจะทำให้เกิดสีที่มีลักษณะนูนเป็น 3 มิติ
สีพลาสติซอล
สีประเภทนี้จะอาศัยน้ำมันเป็นตัวทำละลาย ซึ่งสีพลาสติซอล มีส่วนประกอบมาจาก PVC และ Plasticizer สีประเภทนี้มีการทำปฏิกิริยากับความร้อน จึงทำให้สามารถนำไปเคลือบบนวัตถุต่างๆได้ นั่นจึงเป็นเหตุที่ทำให้สีชนิดนี้นิยมนำไปสกรีนเสื้อผ้าได้บนผ้าหลายๆชนิด หรือวัตถุต่างๆ เยื้อสีมีความเงางาม และสดใส ที่สำคัญคือมีความหนาของลวดลายที่เคลือบ เนื้อสีของสีประเภทนี้ เมื่อนำไปสกรีน จะแห้งเมื่อเก็บไว้ในอุณหภูมิประมาณ 130 – 160 องศา
ส.2(สร้างสรรค์ตามสมมติฐาน)
แบบสเก็ต (sketch idea)
แนวคิด (concept)
มาในแนวความคิดของ “สุนัขจิ้งจอก” ท่ี่เป็นจุดเด่นของลายผ้าพันคอ จากนั้นก็นำเข้ามาผสมกับความเป็นเวทมนต์แห่งศิลปะ
ของจันทรเกษม จึงกลายมาเป็นที่่มาของคำว่า “Magic Art CRU”
ดราฟลายตามแบบสเก็ตเพื่อเป็นแบบสำหรับส่งร้านสกีน
ส.3(สรุปผล)
ผ้าพันคอที่ทำการสกีนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
สั่งสกีนทั้งหมด 15 ผืน
ผ้าทั้งหมด 112 เฉลี่ยเมตรละ 28
ค่าสกีน
บล็อค 350
เย็บชายขอบ 140
สกรีนทั้งหมด 150 เฉลี่ยตัวละ 10 บาท
รวมเป็นเงิน 752 บาท
รายงานการขาย
ราคาเสื้อที่ขายตั้งไว้ 59 บาท
สรุปยอด
วันขาย
|
สินค้า
|
ราคา
|
จำนวน
|
รวม
|
วันที่1
|
ผ้าพันคอ
|
59
|
6
|
354
|
วันที่2
|
ผ้าพันคอ
|
50
|
5
|
250
|
วันที่3
|
เสื้อสกีน
|
50
|
4
|
220
|
รวม 824 บาท
วันที่1
-ยอดขาย 6 ตัว ตัวละ 59 บาท เป็นเงิน 354 บาท
วันที่2
-ยอดขาย 5 ตัว ตัวละ 50 บาท เป็นเงิน 250 บาท
วันที่3
-ยอดขาย 4 ตัว ตัวละ 50 บาท เป็นเงิน 220 บาท
รวมยอดขาย 15 ตัว
354+250+220 = 824 บาท
เงินที่ขายได้-ค่าต้นทุน(ค่าสกีนเสื้อ)=กำไร
824-752= 72 บาท
ภาพบรรยากาศการขายทั้ง3วัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น