วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

Font CRU Dollawan Sans-Serif


Gift on the moon 2016

ผ้าพันคอลายจิ้งจอก Magic Art CRU
ส.1(กรณีศึกษาเรียนรู้)
ข้อดี–ข้อเสียของการ สกรีน แบบต่าง
   การสกรีน แบบบล็อคสกรีน เป็นระบบในการพิมพโดยต้องใช้บล็อคสกรีน 1 สี ต่อ 1 บล็อค 4 สี ก็ต้องใช้ 4 บล็อค ซึ่งเหมาะกับการพิมพ์เสื้อ สกรีนเสื้อจำนวนมาก
ข้อดี คือ
- ถ้างานมีปริมาณมาก ราคาพิมพ์สกรีนเสื้อต่อตัวจะค่อนข้างถูก
- สามารถพิมพ์ได้บนผ้าทุกชนิด รวมถึงวัสดุต่างๆ เช่น พิมพ์กสรีนลงบนไม้ MDF ไม้สัก เหล็ก PVC พลาสติคแทบทุกประเภท และอื่นๆ
- เหมาะกับงาน 1-2 สี และ งานจำนวนมากๆ
ข้อเสีย คือ
- หากจำนวนเสื้อที่ต้องการน้อย จะไม่คุ้มกับค่าบล็อคที่เสียไป
- จำนวนบล็อค เพิ่มขึ้นตามจำนวนสี และค่าแรงในการสกรีน ก็เพิ่มขึ้นตามจำนวนสีด้วย

silkscreen.jpgScreens.jpg

การสกรีนเสื้อแบบ Transfer
       การสกรีนเสื้อแบบTransfer เป็นการสกรีน หรือ พิมพ์ลวดลายโดยการใช้เครื่องปริ้นเตอร์ พิมพ์ลงบนกระดาษทรานเฟอร์ และใช้เครื่องกดความร้อน กดลงบนเนื้อผ้าอีกครั้งนึง ทำให้หมึกที่อยู่บนกระดาษ จะถูกความร้อนกดลงบนเนื้อผ้า โดยเนื้องานที่ออกมา จะได้คุณภาพใกล้เคียงกับงานพิมพ์เลย
ข้อดี คือ
- สามารถพิมพ์งานกี่สีก็ได้ เพราะเป็นงานจากเครื่องพิมพ์โดยตรง
- เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณน้อยๆ และ เร่งด่วน
- ราคาคิดตาม ขนาดของงาน และ จำนวนการพิมพ์ โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนสี
ข้อเสีย คือ
- การพิมพ์แบบ Transfer ราคาค่อนข้างสูง แม้จะพิมพ์จำนวนมากก็ตาม
- การพิมพ์แบบ Transfer จะได้งานที่คงทน และ คุณภาพดี ต้องใช้เสื้อแบบ TC และ TK เท่านั้น ไม่เหมาะกับ ผ้าฝ้ายCotton100%
- สีอาจจะดรอปลงไป หรือ สีเพี้ยนไปจากต้นฉบับบ้างเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับคุณภาพไฟล์งาน
- สำหรับการพิมพ์แบบ Transfer ไม่สามารถพิมพ์สีขาวได้

Heat_Transfers.jpg

การสกรีนเสื้อแบบ Direct
       การสกรีนเสื้อแบบ Direct เป็นการสกรีน หรือ พิมพ์ลวดลายลงเนื้อผ้าโดยตรง โดยการใช้เครื่องปริ้นเตอร์ พิมพ์ลงบนเนื้อผ้า หรือ เสื้อ และใช้เครื่องกดความร้อน กดลงบนเนื้อผ้าอีกครั้งนึง เพื่อให้สีคงทนถาวรบนเนื้อผ้า โดยเนื้องานที่ออกมา จะได้คุณภาพใกล้เคียงกับงานพิมพ์เลย
ข้อดี คือ
- สามารถพิมพ์งานกี่สีก็ได้ เพราะเป็นงานจากเครื่องพิมพ์สู่เนื้อผ้าโดยตรง
- เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณน้อยๆ และ เร่งด่วน
- ราคาคิดตาม ขนาดของงาน และ จำนวนการพิมพ์ โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนสี
- สามารถพิมพ์ลงบนผ้าฝ้าย cotton100 ได้ โดยไม่หลุดลอก และสีไม่แตก
ข้อเสีย คือ
- การพิมพ์แบบ Direct ราคาค่อนข้างมีราคาสูง แม้จะพิมพ์จำนวนมากก็ตาม
- สีอาจจะดรอปลงไป หรือ สีเพี้ยนไปจากต้นฉบับบ้างเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับคุณภาพไฟล์งาน
- สำหรับการพิมพ์แบบ Direct ไม่สามารถพิมพ์เนื้อสี สีขาวได้

direct_print2.jpgdirect_print1.jpg


การทำบล็อกสกรีน
banner_blockscreen3.png

การทำบล็อกสกรีน
หลายๆคนอาจจะสงสัยว่า ในการสกรีนเสื้อยืดนั้น การสกรีนลายสวยๆได้นั้น เขาเริ่มต้นทำกันอย่างไร สิ่งแรกที่ต้องเรียนรู้คือ การทำบล๊อกสกรีน นั่นเองครับ กระบวนการทำบล็อกสำหรับสกรีนเสื้อนั้น เขามีวิธีในการทำกันอย่างไร วันนี้เราจะมาสาธิตวิธีในการทำบล็อกสกรีนอย่างง่ายให้ได้ดูกันครับ และเพื่อนๆสามารถนำไปทดลองทำกันได้อีกด้วย
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำบล็อกสกรีน
  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำบล็อคสกรีน
  • 1. กาวอัด สีชมพู หาไม่ได้ ก็สีม่วง หรือ สีฟ้า
  • 2. น้ำยาไวแสง
  • 3. บล็อคสกรีน
  • 4. ยางปาด
  • 5. ไดร์เป่าผม หาไม่ได้ ก็ไปยืมของแม่ที่ใช้เป่าผม มาใช้งานก่อน ใช้ได้ ใครมีแฟน ก็ไปเอาของแฟนมาใช้ก่อน ช่วง นี้ ข้าวของแพง ขึ้นทุกวัน อันไหนยืมได้ก็ยืมไปก่อน ถ้าลงทุนซื้อ ทุกอย่าง ก็จะไม่คุ้ม
  • 6. ถ้วย เอาไว้ใส่ กาวอัด กับ น้ำ ยา ไวแสง
  • 7. ช้อน ไว้คน น้ำยาไวแสง กับ กาวอัด ให้เข้ากัน
  • 8. กระดาษเช็ค ชู่
  • 9. ตู้ฉายแสง
  • 10.กระบอกฉีดน้ำ
  • 11. ผงคลอลีน เอาไว้ล้างบล็อคสกรีน ที่ต้องการทำใหม่

ขั้นตอนการทำบล็อกสกรีน
  • การทำบล๊อกสกรีนนั้ควรทำทุกขั้นตอนในห้องที่ไม่มีแสง UV ควรใช้หลอดไฟสีเหลือง
  • เริ่มต้นนั้น ให้เราผสมกาวอัดสกรีนกับน้ำยาไวแสงเข้าด้วยกัน โดยทั่วไปแล้ว อัตราส่วนที่สำคัญคือ กาวอัพสกรีน 5 ส่วน และน้ำยาไวแสง 1 ขวด เมื่อกะปริมาณได้แล้ว ให้เราผสมให้ทั้ง 2 อย่างเข้ากัน กาวอัดบล๊อคสกรีนนั้นเมื่อผสมแล้วจะมีอายุไม่นาน ควรใช้ให้หมดภายในวันเดียวกัน
  • นำกาวอัดบล๊อคสกรีนที่ผสมเรียบร้อยแล้ว เทลงบนรางปาดกาวอัด
  • ตั้งบล๊อคสกรีนไว้พิงกับกำแพง และนำกาวอัดที่อยู่บนราง เอียงปาดกดลงบนผ้าสกรีน และรูดขึ้นจากล่างขึ้นบน ทำแบบนี้ทั้ง 2 ด้าน ของผ้าสกรีน
  • เราจะต้องทำให้บล็อกสกรีนที่เราทากาวไว้นั้น แห้งสนิท ตั้งไว้ให้แห้ง หรือ นำไดร์เป่าผมมาใช้ และเป่าให้จุดที่ทากาวนั้นแห้งสนิททั้ง 2 ด้าน และหลังจากนั้นก็นำไปเก็บไว้ในที่มืด เหตุผลที่ต้องนำไปเก็บในที่มืดเพราะ บล็อกสกรีนที่ฉาบกาวแล้ว จะมีปฏิกิริยาที่ไวต่อแสง
  • นำแบบที่เขียนสกรีนไว้แล้วบนกระดาษไข หรือ ฟิลม์ Artwork มาฉาบลงบนบล็อกสกรีนด้วยการอัดกาว จากนั้นจึงนำไปฉายแสงตามระยะเวลาที่กำหนด และขั้นตอนสุดท้ายคือการนำบล็อกสกรีนที่ทำเสร็จนั้นไปล้างน้ำเปล่าให้สะอาด และฉีดน้ำเก็บรายละเอียด


สีที่เหมาะในการใช้ สกรีนเสื้อ
ข้อสำคัญของการสกรีนเสื้อยืดนั้น นอกเหนือจากการทำบล็อกสกรีนแล้ว สิ่งที่จะขาดไม่ได้ที่จะทำให้การทำเสื้อสมบูรณ์นั้นก็คือ การใช้สีในการสกรีนเสื้อยืดนั่นเอง แต่ว่าการเลือกใช้สีนั้น ก็จะมีความเหมาะสมที่แตกต่างกันไป วันนี้เราจะมาแนะนำสีที่ใช้ในการสกรีนเสื้อกันครับ
ประเภทของสีสกรีนเสื้อ
สีเชื้อน้ำ
สีประเภทแรกที่เราจะอธิบายถึงกระบวนการของมันนั่นก็คือสีประเภท “เชื้อน้ำ”  สีสกรีนประเภทนี้มีคุณสมบัติเป็นตัวทำละลายเนื้อสี และแป้งพิมพ์ให้เป็นเนื้อเดียวกัน สำหรับแป้งพิมพ์สำหรับไว้เป็นส่วนผสมของสีสกรีนนั้น จะมีส่วนผสมที่สำคัญของสาร Binder ที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการยึดเกาะ มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มการยึดติดบนเส้นใยของเนื้อผ้าที่จะใช้สกรีน และสำหรับสีเชื้อน้ำนั้นยังแบ่งออกเป็นอีก 4 ประเภทใหญ่ๆคือ

สีสกรีนเสื้อแบบสีจม
เนื้อสีชนิดนี้จะมีความละเอียดสูง และสามารถซึมลงไปถึงเส้นใยผ้าได้อีกด้วย มีความโปร่งใส และเมื่อสกรีนเสร็จ หากลองจับดู จะพบว่าเนื้อนั้นเรียบเนียนจนเหมือนกับว่าสีนั้นรวมกันเป็นส่วนเดียวกันกับเส้นใยผ้าไปด้วย
สีสกรีนเสื้อแบบสีลอย
เนื้อสีประเภทนี้จะมีความละเอียดน้อยกว่าสีจม แต่เมื่อสกรีนแล้วจะพบว่าเนื้อสีนั้นจะมีความหนามากกว่าแบบสีจม สีประเภทนี้มีความทึบแสง เหมาะที่จะไปสกรีนลงบนเสื้อสีเข้มๆ
สีสกรีนเสื้อแบบสียาง
สีชนิดนี้มีสรรพคุณเหมือนกับยางยืดนั่นก็คือ มีความยืดหยุ่นสูง มีความเงา  เมื่อลองดึงผ้าที่สกรีนนั้น จะเห็นว่าเนื้อสีที่สกรีนนั้นยืดออกด้วย และยังมีความสามารถในการเกาะบนเนื้อผ้าที่ดีเหมือนกับสีลอย
สีสกรีนเสื้อแบบสีนูน
สีชนิดนี้ เกิดจากการนำสีไปอบด้วยความร้อนสูง และจะทำให้เกิดสีที่มีลักษณะนูนเป็น 3 มิติ
สีพลาสติซอล
สีประเภทนี้จะอาศัยน้ำมันเป็นตัวทำละลาย ซึ่งสีพลาสติซอล มีส่วนประกอบมาจาก PVC และ Plasticizer สีประเภทนี้มีการทำปฏิกิริยากับความร้อน จึงทำให้สามารถนำไปเคลือบบนวัตถุต่างๆได้ นั่นจึงเป็นเหตุที่ทำให้สีชนิดนี้นิยมนำไปสกรีนเสื้อผ้าได้บนผ้าหลายๆชนิด หรือวัตถุต่างๆ เยื้อสีมีความเงางาม และสดใส ที่สำคัญคือมีความหนาของลวดลายที่เคลือบ เนื้อสีของสีประเภทนี้ เมื่อนำไปสกรีน จะแห้งเมื่อเก็บไว้ในอุณหภูมิประมาณ 130 – 160 องศา



ส.2(สร้างสรรค์ตามสมมติฐาน)

แบบสเก็ต (sketch idea)
12910794_1187370561274259_1851100445_n.jpg
แนวคิด (concept)          
มาในแนวความคิดของ “สุนัขจิ้งจอก” ท่ี่เป็นจุดเด่นของลายผ้าพันคอ จากนั้นก็นำเข้ามาผสมกับความเป็นเวทมนต์แห่งศิลปะ
ของจันทรเกษม จึงกลายมาเป็นที่่มาของคำว่า “Magic Art  CRU”  

ลายผ้าจิ้งจอก1.png
ดราฟลายตามแบบสเก็ตเพื่อเป็นแบบสำหรับส่งร้านสกีน

ส.3(สรุปผล)

12939275_888814631246823_810977160_n.jpg

ผ้าพันคอที่ทำการสกีนเสร็จเรียบร้อยแล้ว

สั่งสกีนทั้งหมด 15 ผืน
ผ้าทั้งหมด 112 เฉลี่ยเมตรละ 28
ค่าสกีน
บล็อค 350
เย็บชายขอบ 140
สกรีนทั้งหมด 150 เฉลี่ยตัวละ 10 บาท
รวมเป็นเงิน 752  บาท
















รายงานการขาย
12948459_1232665886751265_685070007_o.jpg

ราคาเสื้อที่ขายตั้งไว้ 59 บาท

สรุปยอด

วันขาย
สินค้า
ราคา
จำนวน
รวม
วันที่1
ผ้าพันคอ
59
6
354
วันที่2
ผ้าพันคอ
50
5
250
วันที่3
เสื้อสกีน
50
4
220
รวม 824 บาท
วันที่1
-ยอดขาย 6 ตัว ตัวละ 59 บาท เป็นเงิน 354  บาท
วันที่2
-ยอดขาย 5 ตัว ตัวละ 50 บาท เป็นเงิน 250 บาท
วันที่3
-ยอดขาย 4 ตัว ตัวละ 50 บาท เป็นเงิน 220 บาท

รวมยอดขาย 15 ตัว
354+250+220 = 824 บาท
เงินที่ขายได้-ค่าต้นทุน(ค่าสกีนเสื้อ)=กำไร
824-752= 72 บาท

ภาพบรรยากาศการขายทั้ง3วัน

12901513_1112811312103726_2203782576497616332_o.jpg
12901550_1112811365437054_565334806940065854_o.jpg



12921079_1192377884106860_512067099_n.jpg12910535_1031296466959789_1853227329_n.jpg

12968712_1192377990773516_23465887_n.jpgS__30031886.jpg

S__30031874.jpgS__30031887.jpg
12966224_1091295817621028_309064757_n.jpg12968770_1192377954106853_407579094_n.jpg

บันทึกการเรียน ARTD2304 ในวันที่ 09/02/59

อาจารย์จะขอดู mood borad ต้นเดือน มีนาคม
- ชื่อกลุ่ม
- Logo
- Prop 
- Project 3 แบบต่อคน + Packaging 

สอนโปรแกรม FontLab ต่อ พูดถึงการสร้าง font ลายมือ 



Weight 
Blod หนา
Regular ตัวธรรมดา 
Italic ตัวเอน 
Generate Font ส่งออกฟ้อนต์ (.ttf) 

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ARTD2304 ในวันที่ 26/01/59

ligature คือ การผสมอักษร
Capital Letter คือ ตัวพิมพ์ใหญ่
อธิบายส่วนประกอบต่างๆ ของ Keyboard ในแต่ละคีย์ และ การพิมตัวอักษรในรูปแบบ ligature







Ligature คืออะไร ผมอ่านออกเสียงว่า ลิกะเจอร์ มีบางท่านอ่านออกเสียงแบบติดตลกพูดย่อๆว่า ลิเก จะคืออะไร ก็คือวิธีการแก้ปัญหาเรื่องการจัดเรียงพิมพ์ตัวอักษร (Type Arranging) ที่มีปัญหาเรื่องที่ว่างสีขาว (White Space) มากเกินไปหรือห่างมากไปอันเนื่องจากมีรูปขาดหาย(ในสายตาเรา)ไม่เต็มกรอบโครงสร้างสี่เหลี่ยม เช่นในภาษาลาตินตัวพิมพ์ใหญ่ ก็คือตัว A ตัว T เป็นต้น หรือปัญหาเรื่องการลำดับตำแหน่งรูปสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์ ในภาษาที่แตกต่างกัน อาทิเช่น เมื่อเรียงพิมพ์แล้วเกิดมีบางส่วนของรูปอักขระซ้อนทับหรือบังกัน เช่นในภาษาลาตินก็อย่างเช่นตัวพิมพ์เล็ก fi ,fl ทำให้อ่าน-ดูขัดตาไม่สวยด้วยปัญหาเรื่องระยะห่างของแบบตัวพิมพ์หรืออาจเนื่องจากการปรับจัดระยะชิดกั้นหน้าหนัง (Side Bearing) หรือที่เรียกว่าการจัดระยะเคิร์นนิ่ง (Kerning) เองหรืออัตโนมัติไม่ครบทุกรูปอักขระ-สระ ที่มีมากมาย เช่นในภาษาไทย มีรูปสระ-วรรณยุกต์ซ้อนทับตำแหน่งพิมพ์เดิม ซ้อนอยู่เป็นระดับบน-ล่างพยัญชนะ และยังมีหางยาวพ้นระดับความสูงของบรรทัดปกติอีกด้วย เช่น ป ฟ ฝ เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวมานี้จึงต้องมีการแก้ปัญหาเพื่อให้การเรียงพิมพ์ตัวเนื้อความออกมาได้ดีสวยงามไม่น่ารำคาญสายตาเวลาอ่าน นั่นก็คือต้องมี การแก้ปัญหาให้เช่นการเขียนคำสั่ง(Tag)กำกับอักขระเพิ่มเป็นพิเศษ และมีการเขียนรูปอักขระเพิ่มด้วยการรวมร่างแบบตัวอักขระ สองหรือสามตัวให้เป็นรูปตัวเดียว เหมือนกับการเขียนและเรียกใช้งานรูปสัญลักษณ์อักขระพิเศาที่นอกเหนือจากที่มีในตารางมาตรฐานของแป้นพิมพ์  ซึ่งปัญหานี้ก็ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ที่เอื้อต่อการจัดการแก้ไข ใส่ตำสั่งแท๊กสคริ๊ป หรือด้วยการการเขียนโปรแกรมคำสั่งให้ดำเนินการเรียกใช้ให้โดยอัตโนมัติ หรือเรียกใช้รูปอักขระที่มีรูปลักษณ์พิเศษที่ถูกเขียนควบรวมรูปร่างแทนขึ้นใหม่(Ligatures)เช่นใช้ภาพอักขระ ฟั ตัวเดียวที่มีเพิ่มใช้จากในตาราง glyph (ปกติต้องพิมพ์ลำดับอักขระคือ ฟอฟันและไม้หันอากาศ) ให้เข้าใช้แทนที่ตำแหน่งพิมพ์ เมื่อเงื่อนไขที่พิมพ์รูปอักขระป้อนเข้าตรงกับคำสั่งที่เขียนขึ้นไว้ในโปรแกรมฟ้อนต์นั่นเอง ซึ่งความสามารถนี้ในโปรแกรมฟ้อนต์แล็บ มีให้พร้อมรองรับการแก้ปัญหาเอาไว้แล้ว เป็นคุณสมบัติพิเศษที่โดดเด่นที่ศึกษาได้ง่าย ทั้งในเวอร์ชั่นสำหรับติดตั้งใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ MacIntosh และระบบปฏิบัติการ Windows

ที่มา : http://typefacesdesign.blogspot.com/2012/11/ligature.html 

Present Font (ฟ้อนต์ลายมือตนเอง)