วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

ขั้นตอนการทำชุดแบบอักษรจากลายมือเขียน มาเป็นไฟล์เวกเตอร์

ขั้นตอนการแปลงไฟล์ภาพตัวอักษรเป็นไฟล์เวกเตอร์
การที่จะลงมือทำได้ต้องนำแบบสแกนด้วยความละเอียด 300 dpi เลือกมา 1 ชุดลายมือ มีชุดอักษรไทยและอังกฤษ ขั้นตอนการทำมีดังนี้

1.File > New ตั้งค่ากระดาษเป็น A4 แนวตั้ง และกด OK
1.jpg
ที่มา : ดลวรรณ หวังดี,2559


2. เปิดชุดตัวอักษรที่ต้องการทำขึ้นมาและลากวางบนหน้ากระดาษ A4
2.jpg
ที่มา : ดลวรรณ หวังดี,2559


3. กดปุ่ม ImageTrace > 3 Colors แล้วก็รอโหลดสักครู่


3.jpg
ที่มา : ดลวรรณ หวังดี,2559


4. จากนั้นให้กดปุ่ม Expand อีกครั้งเพื่อแปลงไฟล์ภาพให้เป็นไฟล์เวกเตอร์


4.jpg
ที่มา : ดลวรรณ หวังดี,2559


5. เราก็จะได้เส้นเวกเตอร์ที่สามารถแก้ไขและจัดเรียงใหม่ตัวอักษรแต่ละตัวได้


5.jpg
ที่มา : ดลวรรณ หวังดี,2559


6. ให้กดที่ปุ่มรูปสี่เหลี่ยม แล้วลากคลุมเพื่อที่จะสร้างพื้นหลังเป็นสี สะดวกแก่การลบส่วนที่เราไม่ต้องการออก


6.jpg
ที่มา : ดลวรรณ หวังดี,2559

7. พอเราลบเสร็จหมดแล้ว ให้กด Ungroup เพื่อที่จะแยกตัวอักษรเป็นแต่ละตัว ให้เราทำการตกแต่งตัวอักษรให้เรียบร้อย เช่น ใช้เครื่องมือ วงกลม สร้างเป็นหัวตัวอักษรขึ้นมา


7.jpg
ที่มา : ดลวรรณ หวังดี,2559


8. ถ้าเราจะรวมเป็นตัวเดียวกัน ให้ไปที่ Pathfinder > Minus Front ตัววงกลมที่เราสร้างขึ้นมาก็จะรวมเป็นตัวอักษรเดียวกัน


8.jpg
ที่มา : ดลวรรณ หวังดี,2559


9. นำตัวอักษรมาเรียงเป็นชื่อจริงและนามสกุล ให้เรียบร้อย


9.jpg
ที่มา : ดลวรรณ หวังดี,2559

10. จัดเรียงชุดตัวอักษรให้อยู่กึ่งกลาง


10.jpg
ที่มา : ดลวรรณ หวังดี,2559


11. ชุดตัวอักษรภาษาอังกฤษทำเหมือนกันกับชุดแรกเช่นกัน   
11.jpg

ที่มา : ดลวรรณ หวังดี,2559

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

รายงานออนไลน์แปลสรุปข่าวสารทางการออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์

รายงานออนไลน์แปลสรุปข่าวสารทางการออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์
เรื่องที่ 3 เรื่อง Drina
เขียนโดย Lazar Dimitrijević
แปลสรุปเรื่องโดย Dollawan Wangdee


174980.jpg


About this font family
Drina is a script handwritten font with a casual and modern look. Because of the spontaneity there are plenty of Standard and Discretionary Ligatures to avoid frequent repetition of letters.
If you find a single repeating glyphs, you can change that by toggling between Stylistic Alternates. There are ligatures created for Cyrillic too, more then 100 symbols, ornaments and artworks with inky texture.
Drina is the perfect choice for all natural and authentically beautiful things.


แปลด้วยเครื่องมือแปล Google Translate
เกี่ยวกับครอบครัวของ ตัวอักษรนี้
ดีนา เป็นสคริปต์ ที่เขียนด้วยลายมือ ตัวอักษร ที่มีรูปลักษณ์ ที่ทันสมัย ​​และ สบาย ๆ เพราะ เป็นธรรมชาติ ที่มี ความอุดมสมบูรณ์ของ มาตรฐานและ การตัดสินใจ หนังสติ๊ก ที่จะหลีกเลี่ยง การทำซ้ำ บ่อยของ ตัวอักษร
หาก คุณพบว่ามี การทำซ้ำ ร่ายมนตร์ เดียวคุณสามารถ เปลี่ยนที่โดย สามารถเลือก สลับ โวหาร มี หนังสติ๊ก ที่สร้างขึ้นสำหรับ ซีริลลิ เกินไป มี มากขึ้นแล้ว 100 สัญลักษณ์ เครื่องประดับ และงานศิลปะ ที่มีพื้นผิว ดำสนิท
ดีนา เป็นตัวเลือกที่ สมบูรณ์แบบสำหรับทุก สิ่งที่เป็นธรรมชาติ และสวยงาม แท้จริง


เรียบเรียงใหม่ให้อ่านรู้เรื่อง ได้ใจความสมบูรณ์ โดยเพิ่มเติมสำนวนหรือข้อความที่รู้เห็นและเข้าใจด้วยตัวเอง
ดีน่าเป็นสคริปที่เขียนขึ้นด้วย ลายมือที่มีรูปแบบที่น่าดึงดูดความสนใจ ไม่เป็นทางการ ทันสมัย เนื่องจากเป็นธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่มาตรฐาน และ ช่วยหลีกเลี่ยงการทำซ้ำของตัวอักษร หากคุณพบว่ามีการทำซ้ำของอักษร คุณสามารถเปลี่ยนได้โดยการสลับโวหารของตัวอักษร สร้างขึ้นสำหรับ ซีริลลิ มีมากกว่า 100 สัญลักษณ์ มีทั้ง เครื่องประดับ และ งานศิลปะ ที่มีพื้นผิวสีดำสนิท
ดีน่าเป็นตัวเลือกที่ สมบูรณ์แบบและดีที่สุด เป็นธรรมชาติสวยงามอย่างแท้จริง


175041.jpg


175437.png

อ้างอิงจากเว็ปไซต์/เว็ปบล็อก


วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

Handwrite


ลายมือเด็กโต อายุ 6-11 ปี


 ลายมือวัยรุ่น (ตัวเอง) อายุ 12-20 ปี

 ลายมือผู้ใหญ่ อายุ 20-60 ปี



ความหมายของคำว่า Font,Typeface,Alphabet,Typography

Font หมายถึง ชุดหรือรูปแบบตัวพิมพ์ ที่ได้รับการออกแบบ ไว้อย่างเป็นเอกภาพด้วยรูปแบบเฉพาะตัว 
ไทป์เฟซอาจจะประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน

Typeface หมายถึง แบบของตัวอักษร ที่ออกแบบหรือคิดค้นขึ้นมาโดย "นักออกแบบตัวอักษร" ซึ่งในแต่ละ typeface จะมี shape ที่แตกต่างกันออกไป

Alphabet หมายถึง สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย สำหรับใช้แทนหน่วยเสียง ในภาษาหนึ่งๆ โดยเรียกรวมทั้งชุดหรือทั้งระบบ โดยทั่วไป อักษรแต่ละตัว มักจะใช้แทนหน่วยเสียงหนึ่งๆ ซึ่งอาจเป็นเสียงสระ พยัญชนะ หรือหน่วยเสียงปลีกย่อยอื่นๆ เช่น อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรมอญ โดยทั่วไปเรียกกันว่า "ตัวหนังสือ"

Typography หมายถึง การออกแบบและการใช้งานตัวอักษรเพื่อการสื่อสาร ซึ่งมีจุดเิ่ริ่มต้นมานับแต่ที่กูเตนเบิร์กได้เริ่มใช้ในงานการพิมพ์ในระบบเลตเตอร์เพรสมาก่อน แต่งานไทโพกราฟี่นั้น มีรากฐานการพัฒนามาจากงานเขียนตัวอักษรแบบคัดลายมือเป็นรูปอักขระ
Typography จึงเป็นการจัดวางแบบตัวพิมพ์(Typefaces)ให้เหมาะสมกับพื้นที่และองค์ประกอบทางการพิมพ์ที่ใช้ในงานออกแบบทั้งหมด

ที่มา:http://typefacesdesign.blogspot.com/2011/09/typography.html

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

วิเคราะห์ประเภทของ Font


Font คำว่า "whiskas" นี้ เป็น font ในลักษณะ san serif 
Font นี้มีการพัฒนามาจาก serif ให้มีการตัดทอนส่วน serif ออกจนดูทันสมัยกว่า และเรียบง่าย

ตัวอย่างของ font ประเภท San Serif


ความแตกต่างระหว่าง Font Serif กับ San Serif




วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

การศึกษาด้วยตนเอง

ศึกษาจาก channel youtube









ไทป์เฟซ หรือ ฟอนต์ หรือในชื่อไทยว่า ชุดแบบอักษร (อังกฤษ: typeface หรือ font) คือชุดของรูปอักขระ (glyph) ที่ได้รับการออกแบบไว้อย่างเป็นเอกภาพด้วยรูปแบบเฉพาะตัว ไทป์เฟซอาจประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน และอาจรวมไปถึงอักษรภาพ (ideogram) เช่นอักษรจีนหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หรือทางเทคนิค




ความแตกต่างของไทป์เฟซกับฟอนต์
บุคคลทั่วไปมักใช้คำว่า ฟอนต์ (font/fount) เรียกแทนไทป์เฟซ หรือใช้เรียกสลับกัน แต่ในความจริงแล้วมีความหมายที่แตกต่างกัน ไทป์เฟซหมายถึงชุดตัวอักษรที่มีรูปแบบเดียวกัน ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่เล็กเท่าไร เช่น Arial, Arial Bold, Arial Italic และ Arial Bold Italic ต่างเป็นไทป์เฟซคนละชนิดกัน ส่วนฟอนต์จะหมายถึงชุดตัวอักษรที่มีทั้งไทป์เฟซและขนาดเดียวกัน ตัวอย่างเช่น Arial 12 พอยต์ก็เป็นฟอนต์หนึ่ง Arial 14 พอยต์ก็เป็นฟอนต์หนึ่ง Arial Bold 14 พอยต์ก็เป็นอีกฟอนต์หนึ่ง เป็นต้น ในการสร้างเอกสารแบบดิจิทัล ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนขนาดฟอนต์ได้เองในคอมพิวเตอร์ ทำให้ความแตกต่างของไทป์เฟซกับฟอนต์จึงลดความสำคัญลงไป
สำหรับตระกูลหรือสกุลของตัวอักษร (font/type family) มีความหมายกว้างกว่าไทป์เฟซ กล่าวคือ แบบตัวอักษรชื่อเดียวกันที่อาจมีรูปแบบต่างๆ กัน ถือเป็นแบบอักษรตระกูลเดียวกัน โดยปกติจะมี 4 รูปแบบคือ roman, italic, bold, bold italic แบบอักษรบางตระกูลอาจมี narrow, condensed หรือ black อยู่ด้วยก็ได้ ดังนั้น Arial, Arial Bold, Arial Italic และ Arial Bold Italic ทั้งหมดเป็นแบบอักษรในตระกูล Arial ในขณะที่Helvetica หรือ Courier ก็เป็นอีกตระกูลหนึ่ง

ลักษณะทั่วไป
เชิงอักษร






ไทป์เฟซสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ แบบมีเชิง (serif) และแบบไม่มีเชิง (sans serif)
แบบเซริฟคือแบบอักษรที่มีขีดเล็ก ๆ อยู่ที่ปลายอักษรเรียกว่า เซริฟ ดังที่ปรากฏในตัวอักษรตระกูล Times แบบอักษรชนิดนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแบบโรมัน (roman) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากอักษรที่จารึกไว้ในหินของอาณาจักรโรมัน เซริฟมีส่วนช่วยในการกวาดสายตาไปตามตัวอักษร ทำให้อ่านง่าย และนิยมใช้สำหรับพิมพ์เนื้อความ
ส่วนแบบซานส์เซริฟก็มีความหมายตรงข้ามกันคือไม่มีขีดที่ปลายอักษร และมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าแบบกอทิก (gothic) อักษรชนิดนี้ไม่เหมาะกับการเป็นเนื้อความ แต่เหมาะสำหรับใช้พาดหัวหรือหัวเรื่องที่เป็นจุดเด่นซึ่งมองเพียงครั้งเดียว อย่างไรก็ตาม ฟอนต์สมัยใหม่ที่ได้รับการออกแบบในคอมพิวเตอร์ อาจมีทั้งแบบเซริฟและซานส์เซริฟปะปนกันในฟอนต์หนึ่งๆ

แบบอักษรมีเชิง (เซริฟ)

แบบอักษรไม่มีเชิง (ซานส์เซริฟ)

"เชิง" คือส่วนที่เน้นสีแดง


ความกว้างของอักษร

หากจะแบ่งประเภทตามความกว้างของอักษร สามารถแบ่งได้สองแบบคือ แบบกว้างตามสัดส่วน (proportional) และแบบกว้างขนาดเดียว (monospaced)
ผู้คนส่วนมากนิยมไทป์เฟซแบบกว้างตามสัดส่วน ซึ่งความกว้างอักษรจะแปรผันไปตามความกว้างจริงของรูปอักขระ เนื่องจากดูเหมาะสมและอ่านง่าย แบบอักษรประเภทนี้พบได้ทั่วไปตามสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมไปถึง GUI ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (อาทิโปรแกรมประมวลคำหรือเว็บเบราว์เซอร์) แต่ถึงกระนั้น รูปอักขระที่ใช้แทนตัวเลขในหลายไทป์เฟซมักออกแบบให้มีความกว้างเท่ากันหมด เพื่อให้สามารถจัดเรียงได้ตรงตามคอลัมน์
ส่วนไทป์เฟซแบบกว้างขนาดเดียวเป็นการออกแบบที่มีจุดประสงค์เฉพาะ มีความกว้างอักษรเท่ากันหมดไม่ขึ้นอยู่กับรูปอักขระ คล้ายอักษรที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ดีดซึ่งมีคอลัมน์ของตัวอักษรตรงกันเสมอ แบบอักษรชนิดนี้มีที่ใช้ในระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์บางชนิดเช่น DOS, Unix และเป็นที่นิยมในหมู่โปรแกรมเมอร์สำหรับแก้ไขซอร์สโคด ศิลปะแอสกี (ASCII Art) เป็นตัวอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้อักษรแบบกว้างขนาดเดียวเพื่อการแสดงผลที่สมบูรณ์
ถ้าหากพิมพ์ตัวอักษรสองบรรทัดด้วยจำนวนอักษรที่เท่ากันในแต่ละบรรทัด ไทป์เฟซแบบกว้างขนาดเดียวเราจะเห็นความกว้างทั้งสองบรรทัดเท่ากัน ในขณะที่แบบกว้างตามสัดส่วนจะกว้างไม่เท่ากัน และอาจไม่กว้างเท่าเดิมเมื่อเปลี่ยนไทป์เฟซ เนื่องจากรูปอักขระกว้างเช่น W, Q, Z, M, D, O, H, U ใช้เนื้อที่มากกว่า และรูปอักขระแคบเช่น i, t, l, 1 ใช้เนื้อที่น้อยกว่าความกว้างเฉลี่ยของอักษรอื่นในไทป์เฟซนั้นๆ

การวาดขนาดฟอนต์


ขนาดของไทป์เฟซและฟอนต์ในงานพิมพ์ โดยปกติจะวัดในหน่วย พอยต์ (point) ซึ่งหน่วยนี้ได้กำหนดขนาดไว้แตกต่างกันในหลายยุคหลายสมัย แต่หน่วยพอยต์ที่แท้จริงนั้นมีขนาดเท่ากับ 1*72 นิ้ว สำหรับการออกแบบอักษร จะวัดด้วยหน่วย เอ็ม-สแควร์ (em-square) เป็นหน่วยที่สัมพันธ์กับฟอนต์ขนาดนั้นๆ โดยหมายถึงความสูงที่สูงกว่าเล็กน้อยตั้งแต่ยอดปลายหางอักษรที่ชี้ขึ้นบน ลงไปถึงสุดปลายหางอักษรที่ชี้ลงล่างของฟอนต์นั้นๆ เอง ซึ่งเท่ากับความสูงของตัวพิมพ์ในงานพิมพ์ หรืออาจสามารถวัดได้ในหน่วยมิลลิเมตร คิว (¼ ของมิลลิเมตร) ไพคา (12 พอยต์) หรือเป็นนิ้วก็ได้


ตัวอักษรส่วนมากใช้เส้นบรรทัดหรือเส้นฐานเดียวกัน (baseline) ซึ่งหมายถึงเส้นตรงแนวนอนสมมติที่ตัวอักษรวางอยู่ในแนวเดียวกัน รูปอักขระของอักษรบางตัวอาจกินเนื้อที่สูงหรือต่ำกว่าเส้นฐาน (เช่น d กับ p) เส้นตรงสมมติที่ปลายหางของอักษรชี้ขึ้นบนและลงล่าง เรียกว่าเส้นชานบน (ascent) และเส้นชานล่าง (descent) ตามลำดับ ระดับของเส้นทั้งสองอาจรวมหรือไม่รวมเครื่องหมายเสริมอักษรก็ได้ ขนาดของฟอนต์ทั้งหมดจะวัดระยะตั้งแต่เส้นชานบนถึงเส้นชานล่าง นอกจากนั้นยังมีเส้นสมมติกำกับความสูงสำหรับอักษรตัวใหญ่กับอักษรตัวเล็ก ความสูงของอักษรตัวเล็กจะวัดจากความสูงของอักษร "x" ตัวเล็ก (x-height) ถ้าเป็นฟอนต์ภาษาไทยให้วัดจากอักษร "บ" ส่วนความสูงของอักษรตัวใหญ่ (cap height) ปกติจะวัดจากเส้นที่อยู่เท่ากับหรือต่ำกว่าเส้นชานบนเล็กน้อยถึงเส้นฐาน อัตราส่วนระหว่างความสูงอักษร x กับเส้นชานบนหรือความสูงอักษรตัวใหญ่มักถูกใช้สำหรับการจำแนกลักษณะของไทป์เฟซ


อักษรไทย กับ ไทป์เฟซ
ผู้ใช้ส่วนมากสับสนว่า ไทป์เฟซบางชนิดซึ่งมีอักษรไทย สามารถจัดรูปแบบอักษรไทยด้วยไทป์เฟซนั้นๆได้ในโปรแกรมประยุกต์บางโปรแกรมได้ แต่กลับไม่สามารถใช้กับโปรแกรมประยุกต์หลายๆโปรแกรม เช่น ไม่สามารถใช้ไทป์เฟซอักษรไทย ในโปรแกรม อะโดบี โฟโตชอป และ อะโดบี อิลลัสเตรเตอร์ ได้ และมักโทษผู้ผลิตโปรแกรมประยุกต์นั้นๆ แต่อันที่จริงแล้ว เป็นเพราะการอ้างอิงตำแหน่งอักษรในการเข้ารหัสไม่ตรงกัน เพราะตำแหน่งอักษรละติน นั้นอยู่ตรงกันอยู่แล้วทั้งในแอสกีและยูนิโคด จึงไม่พบว่าเป็นปัญหา แต่ตำแหน่งของอักษรไทยในรหัสแอสกีและยูนิโคด นั้นไม่ตรงกัน โดยมากมักพบเป็นตัวอักษรละติน/สัญลักษณ์ประหลาดๆ เช่น  กลายเป็น © เป็นต้น โดยมักพบได้กับไทป์เฟซไทยเกือบทุกตระกูล เช่น UPC หรือแม่แต่ไทป์เฟซบางตัวในชุดฟอนต์เพื่อชาติ ก็เป็นปัญหานี้
นอกจากนี้ยังพบว่า ไทป์เฟซตระกูล UPC ที่เคยใช้จัดรูปแบบอักษรละตินบน ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ เวิร์ด 97 ได้นั้น กลับไม่สามารถใช้จัดรูปแบบอักษรละตินใน ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ เวิร์ด 2000 ขึ้นไปได้ จึงมีการปรับปรุงไทป์เฟซตระกูล UPC เป็น New และ DSE ตามลำดับ โดยไทป์เฟซตระกูลดังกล่าวมี 10 แบบคือ
-      Angsana
-      Browallia
-      Cordia
-      Dillenia
-      Eucrosia
-      Freesia
-      Iris
-      Jasmine
-      Kodchiang
-      Lily